เรื่อง พฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
(Cooperative behavior of young children has been organized scientific experience )
ปริญญานิพนธ์ของ
ศศิมา พรหมรักษ์
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย
2546
ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ช่วงกิจกรรมในวงกลมกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายและหญิง อายุประมาณ 5-6 ปี ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนชุมชนวัดจงโก จังหวัดลพบุรี โดยใช้วิธีการสังเกตและบันทึกการสังเกตในแบบสังเกตพฤติกรรม ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ได้แก่ วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี วันละ 20 นาที
ใช้หน่วยในการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 8 หน่วย คือ วิทยาศาสตร์น่ารู้ เสียง พลังงาน ดอกไม้แสนสวย การเปลี่ยนแปลง อากาศ ต้นไม้เพื่อนรัก แม่เหล็ก จะจัดแบบให้เด็กได้ฝึกการสังเกต ซักถาม ทดลอง ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติจริงกับสื่อวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง ในเนื้อหาของหน่วยการเรียน โดยอาศัยประสาทสัมผัสในการรับรู้ซึ่งรูปแบบของกิจกรรมจะมีทั้งกลุ่มและรายบุคคล ครูจะมีบทบาทในการ
กระตุ้นให้เด็กปฏิบัติกิจกรรม เสนอความคิดเห็น บอกความต้องการหรือปัยหาของตนเองในขณะทำกิจกรรม
ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
ผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือจำแนกตามรายด้านได้ ได้แก่ ด้านช่วยเหลือ การเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ และด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น