วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 22 กันยายน 2558

Lesson 7



Knowledge : 




  • นำเสนองานวิจัย

นางสาววราภรณ์ แทนคำ  เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Creating a series of activities to develop science process skills )

ชื่อผู้วิจัย   จุฑามาศ เรือนกำ 


สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์และเลือกหน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย ที่ใกล้ตัวเด็กและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี ผลไม้น่าทาน ต้นไม้เพื่อนรัก ดอกไม้แสนสวยและวิทยาศาสตร์น่ารู้  และนำมาสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสังเกต จำแนกประเภท
 การวัด และการหามิติสัมพันธ์ 


นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์
  เรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ (Critical thinking of young children has been organized scientific activities )

 ชื่อผู้วิจัย  เสกสรร มาตวังแสง 

    ในการวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นนทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลอง(Pre-test) โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยางและดําเนินการทดลองดวยตนเอง จํานวน 8 สัปดาหเมื่ออดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาหนําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลทที่ไดจาก
การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางสถิต

นางสาวยุภา ธรรมโครต เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะ

พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ 

(The event to learn about the natural colors on skills .

The scientific basis of)

 ชื่อผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย

 ะจัดกิจกรรมแบบเป็นการทดลองเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป้นการให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งครูคอยแนะนำและช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลอง เรื่องสีจากธรรมชาติ จะสอนในเรื่อง การสังเกต การจำแนก และการหามิติสัมพันธ์







ของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้


         ชื่อ นักดำน้ำตัวจิ๋ว (The diminutive diver)


       

 อุปกรณ์      

             • ขวดพลาสติก

             • หลอดน้ำ

             • ดินน้ำมัน

             • เทปกาว
                                
             • กรรไกร










 ขั้นตอนการทำ



1. ตัดหลอดยาวประมาณ 3 นิ้ว  
                                 











2. พับหลอดโดยไม่ต้องแบ่งครึ่ง  แล้วติดเทปกาว   
           
           


      


3. ตัดปลายเป็น 2 แฉก พับปลายยาว 1 แฉก
                   






4. ถ่วงด้วยดินน้ำมัน (เพิ่มหรือลดดินน้ำมันให้หลอดลอยปริ่มน้ำ) เอาหลอดใส่ขวดพลาสติกและปิดฝาให้แน่น
                   




















วิธีการเล่น


     ค่อยๆบีบและค่อยๆปล่อยมือจากขวดพลาสติก สังเกตหลอดที่อยู่ในขวด เมื่อบีบนักดำน้ำจะจม และเมื่อปล่อยมือนักดำน้ำจะลอยขึ้น
                                     






















นำไปสู่วิทยาศาสตร์

คือ เมื่อเราบีบขวดพลาสติกน้ำจะถูกดันเข้าไปอัดอากาศที่อยู่หลอดน้ำ ทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้น นักดำน้ำจึงจม  เมื่อปล่อยมือขวดพลาสติกจะขยายตัวออกอากาศที่อยู่ในหลอดจะขยายตัวทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดังนั้น นักดำน้ำจึงลอยขึ้นสู่ผิวน้ำอีกครั้ง






Skill:


  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การฝึกค้นคว้าออกแบบของเล่นด้วยตนเอง



Apply:


  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำของเล่นชิ้นนี้ไปไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้เพื่อเด็กจะได้เล่นและทดลองด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:


  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:


  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น