วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู ( teachers TV)

วีดีทัศน์ สาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

 เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร

โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี

ผู้สอน คุณครู ปราณี ศรีรักแก้ว

ผลิตโดย สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ (2546)


     เน้นกระบวนการสังเกต คิดวิเคราะห์ สร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียนแล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้ จมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำ ปรากฎว่าดินน้ำมันมันจมน้ำ เด็กจึงการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะปั้นเป้นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กเคยเห็นเรือลอยน้ำได้ 

เด็กก็จะออกแบบวาดภาพเรือ แล้วก็จะปั้นตามที่ออกแบบ







 แล้วนำไปลอยน้ำว่าลอยได้หรือไม่




พอทดลองปรากฎว่าเรือลอยน้ำได้ แล้วเด็กก้จะนำเสนอผลงานว่ากลุ่มปั้นอะไร ลอยได้หรือไม่ แล้วให้เทคนิคกับเพื่อนว่าทำอย่างไรดินน้ำมันจึงลอยน้ำได้ และแก้ปัญหาโดยการปั้นขอบให้สูงขึ้นดินน้ำมันก้จะลอยน้ำได้



   จากกิจกรรมเด็กจะได้ทักษะ การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอะไรถึงลอยน้ำได้  ที่สำคัญเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงทำด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็กเอง ซึ่งการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมติฐานของเด็กความคาดเดาของเด็ก  และยังได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต สื่อความหมาย ตั้งสมมติฐาน ทดลองปฎิบัติจริง ได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่ทดลองเป็นจริง



วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

งานวิจัย (research)

เรื่อง พฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์


  (Cooperative behavior of young children has been organized scientific experience )



ปริญญานิพนธ์ของ

 ศศิมา พรหมรักษ์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย

2546

    ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ช่วงกิจกรรมในวงกลมกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายและหญิง อายุประมาณ 5-6 ปี ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนชุมชนวัดจงโก จังหวัดลพบุรี โดยใช้วิธีการสังเกตและบันทึกการสังเกตในแบบสังเกตพฤติกรรม ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ได้แก่ วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี วันละ 20 นาที  
    ใช้หน่วยในการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 8 หน่วย คือ วิทยาศาสตร์น่ารู้ เสียง พลังงาน ดอกไม้แสนสวย การเปลี่ยนแปลง อากาศ ต้นไม้เพื่อนรัก แม่เหล็ก จะจัดแบบให้เด็กได้ฝึกการสังเกต ซักถาม ทดลอง ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติจริงกับสื่อวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง ในเนื้อหาของหน่วยการเรียน โดยอาศัยประสาทสัมผัสในการรับรู้ซึ่งรูปแบบของกิจกรรมจะมีทั้งกลุ่มและรายบุคคล ครูจะมีบทบาทในการ
กระตุ้นให้เด็กปฏิบัติกิจกรรม เสนอความคิดเห็น บอกความต้องการหรือปัยหาของตนเองในขณะทำกิจกรรม

ตัวอย่างกิจกรรม เช่น






ผลการวิจัย

    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือจำแนกตามรายด้านได้  ได้แก่ ด้านช่วยเหลือ การเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ และด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์



บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 22 กันยายน 2558

Lesson 7



Knowledge : 




  • นำเสนองานวิจัย

นางสาววราภรณ์ แทนคำ  เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Creating a series of activities to develop science process skills )

ชื่อผู้วิจัย   จุฑามาศ เรือนกำ 


สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์และเลือกหน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย ที่ใกล้ตัวเด็กและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี ผลไม้น่าทาน ต้นไม้เพื่อนรัก ดอกไม้แสนสวยและวิทยาศาสตร์น่ารู้  และนำมาสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสังเกต จำแนกประเภท
 การวัด และการหามิติสัมพันธ์ 


นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์
  เรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ (Critical thinking of young children has been organized scientific activities )

 ชื่อผู้วิจัย  เสกสรร มาตวังแสง 

    ในการวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นนทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลอง(Pre-test) โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยางและดําเนินการทดลองดวยตนเอง จํานวน 8 สัปดาหเมื่ออดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาหนําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลทที่ไดจาก
การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางสถิต

นางสาวยุภา ธรรมโครต เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะ

พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ 

(The event to learn about the natural colors on skills .

The scientific basis of)

 ชื่อผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย

 ะจัดกิจกรรมแบบเป็นการทดลองเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป้นการให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งครูคอยแนะนำและช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลอง เรื่องสีจากธรรมชาติ จะสอนในเรื่อง การสังเกต การจำแนก และการหามิติสัมพันธ์







ของเล่นวิทยาศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้


         ชื่อ นักดำน้ำตัวจิ๋ว (The diminutive diver)


       

 อุปกรณ์      

             • ขวดพลาสติก

             • หลอดน้ำ

             • ดินน้ำมัน

             • เทปกาว
                                
             • กรรไกร










 ขั้นตอนการทำ



1. ตัดหลอดยาวประมาณ 3 นิ้ว  
                                 











2. พับหลอดโดยไม่ต้องแบ่งครึ่ง  แล้วติดเทปกาว   
           
           


      


3. ตัดปลายเป็น 2 แฉก พับปลายยาว 1 แฉก
                   






4. ถ่วงด้วยดินน้ำมัน (เพิ่มหรือลดดินน้ำมันให้หลอดลอยปริ่มน้ำ) เอาหลอดใส่ขวดพลาสติกและปิดฝาให้แน่น
                   




















วิธีการเล่น


     ค่อยๆบีบและค่อยๆปล่อยมือจากขวดพลาสติก สังเกตหลอดที่อยู่ในขวด เมื่อบีบนักดำน้ำจะจม และเมื่อปล่อยมือนักดำน้ำจะลอยขึ้น
                                     






















นำไปสู่วิทยาศาสตร์

คือ เมื่อเราบีบขวดพลาสติกน้ำจะถูกดันเข้าไปอัดอากาศที่อยู่หลอดน้ำ ทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้น นักดำน้ำจึงจม  เมื่อปล่อยมือขวดพลาสติกจะขยายตัวออกอากาศที่อยู่ในหลอดจะขยายตัวทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดังนั้น นักดำน้ำจึงลอยขึ้นสู่ผิวน้ำอีกครั้ง






Skill:


  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การฝึกค้นคว้าออกแบบของเล่นด้วยตนเอง



Apply:


  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำของเล่นชิ้นนี้ไปไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้เพื่อเด็กจะได้เล่นและทดลองด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:


  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:


  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน














วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

Lesson 6



Knowledge : 



  • ทดสอบก่อนเรียนเรื่อง การทำงานของสมอง
      (สิ่งที่ตนเองตอบ)       สมองของคนเราจะมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้อง สมองแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ ซีกขวา จะเป็นดานจินตนาการ และซีกซ้าย จะเป็นด้านความคิด เหตุผล สมองยังมีหน้าที่ในการควบคุมพฤติกรรมของคนเราอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ด้านการรู้สัมผัส การมองเห็น การคิด การกระทำ รวมถึงการฟัง  การที่สมองของคนเราจะมีการพัฒนาหรือทำงานได้ดี จะต้องได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม 


  • นำเสนอบทความ

       -   นางสาวสุจิตรา มาวงษ์  เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล 

(The thought fills teach science to kids )

        แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" มีแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

              1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือ

โลกของเรา

         2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหา

คำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น

        3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วย

เสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล

       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ

      5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 



       - นางสาวประภัสสร สีหบุตร  เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย 
(Learning science through tales of childhood )
    นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน 
คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
    เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไปเด็ก ๆ 


  • หลักการ/ แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
























Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การฝึกระดมความคิดเกี่บวกับคำถามที่อาจารย์ถามในคาบ


Apply:
  • นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอนและการเขียนแผน และนำไปพัฒนาด้านสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็ก

Teaching  Techniques:
  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง
  • การใช้เทคโนโลยีในการสอน
Evaluation:
  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน



















วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร วันที่ 8 กันยายน 2558

Lesson 5



Knowledge : 

นำเสนอกิจกรรม ที่จะสามารถส่งเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย  โดยกิจกรรมที่นำเสนอเป็นกิจกรรมที่ประดิษฐ์จากกระดาษหนึ่งแผ่น



นำไปสู่วิทยาศาสตร์ คือ   นกมีน้ำหนักเบา เนื่องจากโครงกระดูกมีลักษณะเป็นโพรง มีถุงลมที่เจริญดีอยู่
   ติดกับปอดแทรกอยู่ในช่องว่างของลำตัวและในโพรงกระดูก  ทำให้นกเคลื่อนที่ด้วยการบินอยู่ใน          อากาศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ถุงลมยังช่วยให้นกได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อเมแทบอลิซึมที่สูงมาก   เพราะการเคลื่อนที่ด้วยการบินนั้นต้องใช้พลังงานในปริมาณที่สูงมาก  โดยถุงลมจะทำหน้าที่เก็บอากาศ   สำรองไว้ ขณะหายใจเข้าอากาศที่ผ่านปอดส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ที่ถุงลม เมื่ออากาศที่ใช้แล้วออกจากปอด อากาศที่เก็บไว้ในถุงลมจะเคลื่อนเข้าสู่ปอดทันทีซึ่งเป็นการช่วยให้ปอดทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สได้อย่างมีประสิทธิภาพ  




ตัวอย่าง นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์
  


ตัวอย่าง นางสาวรัชดา เทพเรียน


ตัวอย่าง นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว






Skill:

  • การวิเคราะห์ 
  • การออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยตนเองจากกระดาษเปล่า 


Apply:
  • นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอนและการเขียนแผน และนำไปพัฒนาด้านสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น

Teaching  Techniques:
  • การให้ออกแบบการสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษหนึ่งแผ่นที่จะสามารถส่งเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยตนเอง
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง
Evaluation:
  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำได้อย่างละเอียดครบถ้วน
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน




วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 1 กันยายน 2558

Lesson 4



Knowledge : 


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม "สาระวิชา" ไปสู่การเรียนรู้


"ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 " ครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL  (Problem -Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้ คือ ชุมชน การรียนรู้ครูเพื่อศิษย์(Professional Learning Communities: PLC)  เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง



                                   Learning pyramid






Skill:

  • ได้เรียนรู้ถึงทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Apply:
  • สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ในศตววษที่ 21 มาประยุกต์และปรับใช้ในการออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้









วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558

Lesson 3



Knowledge :    ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในหัวข้อเรื่อง   ร่างกายของคนเรา: การดูแลและ                          อาหารสำหรับบริโภค (คู่กับ นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์)





































Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เกี่ยวกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์


Apply:
  • นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอนและการเขียนแผน และนำไปพัฒนาด้านสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น

Teaching  Techniques:
  • การให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง
Evaluation:
  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำได้อย่างละเอียดครบถ้วน
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน