บทความ เรื่อง ฝึกทักษะสังเกต...นำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
อ้างอิงจาก www.Familyweekend.co.th
ทักษะขั้นพื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือ การสังเกต เพราะฉะนั้นควรจะส่งเสริมทักษะการสังเกตของเด็กโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
ฝึกการสังเกตด้วย ตา ( Eye) ให้เด็กได้ดูในสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ สังเกตความแตกต่างและควรหาเมล็ดพีชต่างๆมาให้เด็กสังเกตโดยการใช้แว่นขยายจะทำให้เขาเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ลายใบไม้ เป็นต้น
ฝึกการสังเกตด้วย หู (Ear) ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติโดยการอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่างๆ นก จิ้งหรีด แล้วให้ทายว่าเป็นเสียงอะไรหรือปิดตาแล้วให้เดาว่าเสียงได้ยินคือเสียงอะไร เช่น เคาะไม้ ตีกลอง เป็นต้น
ฝึกการสังเกตด้วย จมูก (Nose) ปิดตาแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ ที่เขาคุ้นเคยในชีวิต เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ดอกไม้ ส้ม กระเทียม หลังจากที่เด็กสามารถจำแนกกลิ่นต่างๆได้ ก็ให้เขาบรรยายความรู้สึกที่มีต่อกลิ่นนั้นๆ เช่น ดอกไม้หอมชื่นใจ เป็นต้น
ฝึกการสังเกตด้วย ลิ้น (Tongue) การให้ชิมรสอาหาร เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ โดยการนำชิ้นอาหารเล็กๆวางใส่ถาด แล้วปิกตาให้ชิมและตอบว่ากำลังชิมอะไร รสเป็นยังไง เช่น น้ำตาล-หวาน เกลือ - เค็ม ส้ม- เปรี้ยว วุ้น-หวาน จากนั้นก็ให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันหรือแตกต่างกัน เช่น เกลือกับน้ำตาล เป็นต้น
ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง ( Skin)การใช้มือสัมผัส ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ส่งเสริมโดยการนำวัตถุต่างๆใส่ถุง ให้ปิดตาจับของในถุง บอกถึงลักษณะ เช่น นุ่ม แข็ง และสิ่งที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวที่แตกต่างกัน เช่น ผ้า ฟองน้ำ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น