วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558

Lesson 15

 
Knowledge : 


  • นำเสนอบทความ
    นางสาวรัชดา เทพเรียน เรื่อง หลักสูตรปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
(Science Preschool is necessary or not )  สสวท

   การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวการตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป

    นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์  เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science for Young Children)    ผู้แต่ง ผศ.ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


   เด็กเล็ก มีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหา
ความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

     นางสาวชะนาภา คะปัญญา เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

(Early Childhood Learning Management Sciences)   โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 



มีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 



1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 

2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 

3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 



การพัฒนาแนวคิด(มโนทัศน์)

  • โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
  • ใช้การต้งคำถาม
  • การทดลอง
  • การสงเกตและการหาข้อสรุป
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
  • สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
  • สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
  • ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
  • ส่งเสริมกระบวนการคิด 
  • ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
  • ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 
การสร้างความตระหนัก

  • เราต้องการค้นหาอะไร 
  • เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
  • เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
  •  สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

    นางสาวชนากานต์ แสนสุข  เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ 

(Teaching Children about weather)   

ผู้เขียน:ผศ. บุบผา เรืองรอง 


  จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัย รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและ จำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง
  เด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

  • นำเสนอวิจัย
   นางสาวประภัสสร คำบอนิทักษ์ เรื่อง  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของ

เด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

 (บทคัดย่อของ ณัฐชุดา สาครเจริญ)




ตัวอย่างแผน







   นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ

การจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (ปริญญานิพนธ์ ของ สุมาลี หมวดไธสง)

   

ตัวอย่างแผน




 ตัวอย่างภาพกิจกรรม








  • นำเสนอโทรทัศน์ครู
   นางสาวกรกช เดชประเสริฐ เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์

  (เรื่อง ไข่)ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง

(เรื่อง น้ำมัน ) ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง


Skill:
  • การวิเคราะห์
  • การฟัง
  • การตอบคำถาม
  • การระดมความคิด
  • การสรุป

Apply:

  • สามารถนำทักษะที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย เช่น การทดลองเรื่องไข่และน้ำมันพืช  และยังมีทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยที่ควรจะส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ ส่งเสริมกระบวนการคิด ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ  เป็นต้น

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย มีการนำเสนอบทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู ได้เข้าใจ แต่ก็มีบางคนอธิบายไม่ค่อยเข้าใจ เตรียมความพร้อมมาไม่ค่อยดี
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น