วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558

Lesson 15

 
Knowledge : 


  • นำเสนอบทความ
    นางสาวรัชดา เทพเรียน เรื่อง หลักสูตรปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
(Science Preschool is necessary or not )  สสวท

   การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวการตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป

    นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์  เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science for Young Children)    ผู้แต่ง ผศ.ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


   เด็กเล็ก มีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหา
ความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

     นางสาวชะนาภา คะปัญญา เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

(Early Childhood Learning Management Sciences)   โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 



มีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 



1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 

2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 

3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 



การพัฒนาแนวคิด(มโนทัศน์)

  • โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
  • ใช้การต้งคำถาม
  • การทดลอง
  • การสงเกตและการหาข้อสรุป
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
  • สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
  • สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
  • ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
  • ส่งเสริมกระบวนการคิด 
  • ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
  • ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 
การสร้างความตระหนัก

  • เราต้องการค้นหาอะไร 
  • เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
  • เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
  •  สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

    นางสาวชนากานต์ แสนสุข  เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ 

(Teaching Children about weather)   

ผู้เขียน:ผศ. บุบผา เรืองรอง 


  จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัย รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและ จำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง
  เด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

  • นำเสนอวิจัย
   นางสาวประภัสสร คำบอนิทักษ์ เรื่อง  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของ

เด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

 (บทคัดย่อของ ณัฐชุดา สาครเจริญ)




ตัวอย่างแผน







   นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ

การจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (ปริญญานิพนธ์ ของ สุมาลี หมวดไธสง)

   

ตัวอย่างแผน




 ตัวอย่างภาพกิจกรรม








  • นำเสนอโทรทัศน์ครู
   นางสาวกรกช เดชประเสริฐ เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์

  (เรื่อง ไข่)ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง

(เรื่อง น้ำมัน ) ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง


Skill:
  • การวิเคราะห์
  • การฟัง
  • การตอบคำถาม
  • การระดมความคิด
  • การสรุป

Apply:

  • สามารถนำทักษะที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย เช่น การทดลองเรื่องไข่และน้ำมันพืช  และยังมีทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยที่ควรจะส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ ส่งเสริมกระบวนการคิด ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ  เป็นต้น

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย มีการนำเสนอบทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู ได้เข้าใจ แต่ก็มีบางคนอธิบายไม่ค่อยเข้าใจ เตรียมความพร้อมมาไม่ค่อยดี
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน


วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558

Lesson 14

 
Knowledge : 

  • ขนมโค นวดแป้งใส่สีตามต้องการ หลังจากนั้นใส่ไส้ เอาลงหม้อรอจนกว่าจะลอยขึ้นแล้วนำไปคลุกมะพร้าว สอนวิทยาศาสตร์ คือ กำหนดปัญหาหรือคำถามว่า "ทำอย่างไรให้แป้งกินได้" แล้วตั้งสมมติฐานว่า "ถ้าเอาขนมโคใส่น้ำร้อนจะเกิดอะไรขึ้น"  หลังจากนั้นก็สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสี ขนาด รูปทรง แล้วปรากฏว่าขนมโคลอยขึ้น แสดงว่าสุก แล้วก็ตักไปคลุกมะพร้าว










  • หวานเย็น  จัดแบบเป็นกลุ่ม ผสมน้ำหวาน เอาน้ำแข็งใส่กะละมัง ใส่เกลือ  ขณะที่คนน้ำหวาน กำหนดปัญหาว่า "จะทำอย่างไรให้น้ำหวานเป็นน้ำแข็ง" แล้วก็ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น








  • ข้าวจี่  ปั้นข้าวเหนียวเป็นรูปทรงต่างๆตามที่ต้องการและใส่ใส้ตามต้องการ  หลังจากนั้นนำไปปิ้งให้ข้าวแข็งเริ่มเปลี่ยนสี แล้วทาไข่  ตั้งคำถามโดย"เด็กๆคิดว่าจะทำอย่างไรให้ไข่สุก" แล้วให้เด็กทดลองแล้วสังเกตการเปลี่ยนสี กลิ่น รสชาติ ขนาด  เป็นต้น








































Skill:

  • การสังเกต การจำแนก  การวัดหรือการตวงส่วนผสม  เวลาในการทำเพื่อขนมโค หวานเย็น ข้าวจี่ ออกมาสวยและน่ารับประทาน
  • การสื่อความหมาย การแก้ปัญหา

Apply:

  • นำวิธีการทำcooking ไปสอนเด็กได้ สามารถบอกเด็กได้ว่าเราควรเริ่มจากขั้นไหนก่อนเเละต่อๆไปเป็นอะไร ให้เด็กได้รู้จักวิธีการทำเป็นฐานและการทำเป็นกลุ่ม รู้จักการทำอย่างเป็นขั้นตอนและได้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน



วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 10 พฤศจิกายน 2558

Lesson 13

 
Knowledge : 


  • ทำทาโกะยากิ (Takoyaki )โดยทาโกะยากิได้ดัดแปลงจากแป้งเป็นข้าว ไส้ปูอัดและผัก โรยหน้ด้วยสาหร่าย การนำทาโกยากิไปใส่เตาได้เรียนรู้วิธีการพลิกทาโกยากิ ควรจะพลิกอย่างไรจึงจะได้ทาโกยากิในรูปร่างที่สวยงาม

  • วาฟเฟอร์  (Waffen) ราดหน้าด้วยซอสชอคโกแลตเเละซอสสตรอเบอรรี่ จากนั้นสามารถนำเอาของตกเเต่งอย่างอื่นมาตกเเต่งได้  

  • การทำ cooking ทั้งสองอย่างได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การจำแนก การวัด เวลา สื่อความหมายและยังได้ทักษะการแก้ปัญหา











            











Skill:

  • การสังเกต การจำแนก  การวัดหรือการตวงส่วนผสม  เวลาในการทำเพื่อทาโกะยากิและวาฟเฟอร์จะได้ออกมาสวยและน่าทาน
  • การสื่อความหมาย การแก้ปัญหา

Apply:

  • นำวิธีการทำcooking เรื่องทาโกยากิไปสอนเด็กได้ สามารถบอกเด็กได้ว่าเราควรเริ่มจากขั้นไหนก่อนเเละต่อๆไปเป็นอะไร ให้เด็กได้รู้จักวิธีการทำเป็นฐานๆ รู้จักการทำอย่างเป็นขั้นตอนและได้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2558

Lesson 12

 
Knowledge : 


  • ตรวจแผนของกลุ่มตามหน่วย ดังนี้
1. หน่วยยานพาหนะ
2. หน่วยร่างกายของฉัน
3. หน่วยชุมชนของฉัน
4.หน่วยต้นไม้แสนรัก
5. หน่วยน้ำ

แต่ละกลุ่มจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้เพิ่มเติมในเรื่องของ ประโยชน์ของยานพาหนะ การดูแลรักษา ประสบการณ์สำคัญด้านสติปัญญา เป็นต้น







Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเป็นแบบในการแผนการสอนที่สมบูรณ์ ถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน


วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 27 ตุลาคม 2558

Lesson 11

 
Knowledge : 

กิจกรรมที่ 1    ดอกไม้ (Flower)  พับกระดาษแล้วตัดให้เป็น 4 กลีบ หลังจากนั้นนำลงลอยน้ำพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่มแล้วสังกตว่าของใครจมน้ำก่อนเพราะอะไรและมีลักษณะดอกเป็นอย่างไร โดยมีหนึ่งคนคอยจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนำดอกไม้ลอยน้ำแล้ว ปรากฏว่า  เพื่อนที่ทำดอกไม้กลีบใหญ่เมื่อวางลงบนน้ำ จะบานก่อนดอกไม้ของเพื่อนคนอื่นและเมื่อลอยนานๆสีที่ดอกไม้ก็จะค่อยๆละลาย









กิจกรรมที่ 2  ทดลองโดยใช้ขวดน้ำอัดลม เจาะรู 3 รู  เติมน้ำให้เต็มขวด แล้วให้สังกตว่า รูไหนน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลสุด
           สรุปว่าหลังจากเติมน้ำเสร็จแล้ว รูที่อยู่ตรงกลางน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลที่สุด เพราะว่ามีแรงดันมากกว่ารูอื่น







กิจกรรมที่ 3 น้ำพุ (fountain) ทดลองโดยใช้ ขวด สายยาง มีฐานเป็นดินน้ำมัน   แล้วทน้ำให้เต็มขวด น้ำก็จะไหลไปตามสายยางเป็นน้ำพุ แต่ถ้าปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหล และถ้ายิ่งวางถ้วยต่ำน้ำยิ่งไหลสูงเพราะน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำ














กิจกรรมที่ 3 ลูกยางกระดาษ(Rubber paper)  ใช้กระดาษ คริปหนีบกระดาษ  ตัดกระดาษเป็นสองแฉกพับฐานข้างล่างใช้คริปหนีบกระดาษหนีบตรงฐาน แล้วทดลองโยน ถ้าเราทำปีกตรงลูกยางกระดาษจะหมุนได้ดี แต่ถ้าทำปีกโค้งปีกของลูกยางจะไม่หมุน





 กิจกรรมที่ 4 ไหมพรมเต้นระบำ(Yarn Dance)  ทดลองโดยใช้ หลอด ไหมพรม  ตัดหลอดครึ่งหนึ่งแลวร้อยไหมพรม หลังจากนั้นเป่าไหมพรมก็จะเคลื่อนที่ และยิ่งเป่าแรงไหมพรมก็จะเต้นแรง










กิจกรรมที่ 5  เทียนไข (taper)  ใช้แก้ว เทียนไข ถ้วย ไม้ขีด ทดลองโดยจุดเทียน  เทียนไขเมื่อเราใช้แก้ว ครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟ จะค่อยหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขจะดับ ก็เพรา ในอากาศมี ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจน มีคุณสมบัติที่ ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถ ส่องสว่าง ต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง จนเมื่อออกซิเจน ถูกเผาไหม้หมด เทียนไข ก็จะดับลงทันที
       ครั้งที่สองจุดเทียนแล้วเทน้ำรอบๆเทียน หลังจากนั้นนำแก้วไปครอบ แล้วสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ปรากฏว่า เทียนก็จะค่อยๆดับ แล้วน้ำก็จะเข้าไปในแก้ว เพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ) จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่า




Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อเด็กจะได้ทดลองทำด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน






วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม 2558

Lesson 10



Knowledge : 

นำเสนอ วิจัย

นางสาวปรางชมพู บุญชม  เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ(The science of early childhood development skills .The learning activity consists of a series of exercises .)

 วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้
 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์

นางสาวชนากานต์ แสนสุข รื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสาตร์ (The development of teaching and learning processes of preschool teachers using science Sre )

  1. ครูเล่านิทาน เล่นริมน้ำและให้เด็กผลัดกันออกมาเล่าประสบการณ์เดิม
  2. ครูแบ่งกลุ่มเด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพุ เปิดขวดแชมพูใส่น้ำให้เต็ม โดยการตั้งคำถาม เช่น ลักษณะของขวดเป็นอย่างไร  จากนั้นให้เด็กเรียงแถว แล้วบีบขวดจนน้ำในขวดหมด โดยสามารถเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากการบีบขวดโดยการตั้งเกณฑ์ ว่าใครบีบได้ไกลและใกล้ 

ระดมความคิดในการทำ  Cooking ภายในกลุ่ม

ซึ่งกลุ่มของดิฉัน เลือกทำ ทาโกยากิ (Takoyaki)





ส่วนผสม 

1. แป้งทาโกะ 1 ถุง (ถ้าไม่มี ใช้แป้งสาลีเอนกประสงค์ หรือแป้งว่าว)
2. ไข่ไก่ 2 ฟอง
3. น้ำเปล่า 7 ถ้วยตวง
4. ทาโกะ (ปลาหมึกยักษ์ญี่ปุ่น) หั่นสี่เหลี่ยมเต๋า
5. ขิงดองญี่ปุ่นหั่นฝอยเล็กๆ
6. ต้นหอมซอย
7. ปลาแห้งญี่ปุ่น (สำหรับโรยหน้า)
8. ซอสหวาน สำหรับทาโกะยากิ
9. สาหร่ายผง
10. มายองเนส
11. น้ำมันพืชสำหรับเช็ดเตา

วิธีทำ

1. ค่อยๆผสมแป้ง 1 ถุงกับน้ำและไข่ไก่ จนเนื้อแป้งเนียนละเอียด
2. ตั้งเตาขนมครกจนเริ่มร้อน เช็ดเตาด้วยน้ำมันพืช (เพื่อไม่ให้ขนมครกติดเตา)
3. หยอดแป้งลงไปจนเต็ม
4. ใส่ส่วนผสมของปลาหมึก ต้นหอมซอย ขิงดอง ลงไป
5. รอจนด้านล่างสุก ใช้ไม้จิ้มพลิกกลับด้านรอจนสุกอีกแล้วกลับด้าน ได้ขนมครกลูกกลมๆกลิ้งไปมาจนสุกทั่ว

6. ตักใส่จานราดด้วยมายองเนส และซอสทาโกะยากิ โรยหน้าด้วยปลาแห้งและสาหร่ายผง



Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อเด็กจะได้ทดลองทำด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน









วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558

Lesson 9



Knowledge : 



  • นำเสนอ บทความ

    1.นางสาวสุทธิการต์ กางพาพันธ์  เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?
 (The world we live it?)


   กิจกรรมนี้ทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ สำหรับกิจกรรมที่จัดที่จังหวัดสงขลานี้ มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย
      กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
     กิจกรรม “ความลับของดิน” เด็กๆ ช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพังสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย
   กิจกรรม “ถึงร้อนก็อร่อยได้” ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและแสงสว่างของโลก พื้นผิวโลกที่มีลักษณะแตกต่างกันจะดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้ได้ต่างกัน ซึ่งจะพบจากการสัมผัสแผ่นกระเบื้องสีดำและสีขาว ที่วางไว้กลางแจ้ง เมื่อเด็ก ๆ ขึ้นไปเหยียบบนแผ่นกระเบื้องสีดำ จะรู้สึกร้อนกว่าเพราะสีดำดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้มากกว่า จึงถ่ายโอนความร้อนมายังเท้าของเรามากกว่า


 2.นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์  เรื่อง “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง”

จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ มีผู้ปกครองจากหลายสาขาอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมเป็น
“พ่อครู แม่ครู” ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิด
เห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญ
คือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน

 3. นางสาวเจนจิรา เทียมนิล  เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก (Teaching Children about Magnetic Force)
 การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก
   จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทด ลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐม วัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐม วัย ประกอบกับคนเราได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย


  • นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค


โดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไร สอนในเรื่องของอะไร

 ซึ่งจะมีทั้งเรื่อง ลม เสียง แรงโน้มถ่วง ความดัน แสง เป็นต้น



  • นำเสนอ งานกลุ่มที่ได้เขียนมายเเมบเอาไว้


ของเล่นที่นำเสนอคือการทำจรวด จากกระดาษ

ของเล่นตามมุม เป็นการทำแผนที่เเละใช้เเม่เหล็กในการทำ

การทดลอง เป็นการทดลองจรวด โดยมีแบ็ดกิ้งโซดาเป็นตัวหลักเเละกล่องใส่ฟิล์มกล้อง





Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การฝึกค้นคว้าออกแบบของเล่นด้วยตนเอง


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำของเล่นชิ้นนี้ไปไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้เพื่อเด็กจะได้เล่นและทดลองด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน