วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 27 ตุลาคม 2558

Lesson 11

 
Knowledge : 

กิจกรรมที่ 1    ดอกไม้ (Flower)  พับกระดาษแล้วตัดให้เป็น 4 กลีบ หลังจากนั้นนำลงลอยน้ำพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่มแล้วสังกตว่าของใครจมน้ำก่อนเพราะอะไรและมีลักษณะดอกเป็นอย่างไร โดยมีหนึ่งคนคอยจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนำดอกไม้ลอยน้ำแล้ว ปรากฏว่า  เพื่อนที่ทำดอกไม้กลีบใหญ่เมื่อวางลงบนน้ำ จะบานก่อนดอกไม้ของเพื่อนคนอื่นและเมื่อลอยนานๆสีที่ดอกไม้ก็จะค่อยๆละลาย









กิจกรรมที่ 2  ทดลองโดยใช้ขวดน้ำอัดลม เจาะรู 3 รู  เติมน้ำให้เต็มขวด แล้วให้สังกตว่า รูไหนน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลสุด
           สรุปว่าหลังจากเติมน้ำเสร็จแล้ว รูที่อยู่ตรงกลางน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลที่สุด เพราะว่ามีแรงดันมากกว่ารูอื่น







กิจกรรมที่ 3 น้ำพุ (fountain) ทดลองโดยใช้ ขวด สายยาง มีฐานเป็นดินน้ำมัน   แล้วทน้ำให้เต็มขวด น้ำก็จะไหลไปตามสายยางเป็นน้ำพุ แต่ถ้าปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหล และถ้ายิ่งวางถ้วยต่ำน้ำยิ่งไหลสูงเพราะน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำ














กิจกรรมที่ 3 ลูกยางกระดาษ(Rubber paper)  ใช้กระดาษ คริปหนีบกระดาษ  ตัดกระดาษเป็นสองแฉกพับฐานข้างล่างใช้คริปหนีบกระดาษหนีบตรงฐาน แล้วทดลองโยน ถ้าเราทำปีกตรงลูกยางกระดาษจะหมุนได้ดี แต่ถ้าทำปีกโค้งปีกของลูกยางจะไม่หมุน





 กิจกรรมที่ 4 ไหมพรมเต้นระบำ(Yarn Dance)  ทดลองโดยใช้ หลอด ไหมพรม  ตัดหลอดครึ่งหนึ่งแลวร้อยไหมพรม หลังจากนั้นเป่าไหมพรมก็จะเคลื่อนที่ และยิ่งเป่าแรงไหมพรมก็จะเต้นแรง










กิจกรรมที่ 5  เทียนไข (taper)  ใช้แก้ว เทียนไข ถ้วย ไม้ขีด ทดลองโดยจุดเทียน  เทียนไขเมื่อเราใช้แก้ว ครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟ จะค่อยหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขจะดับ ก็เพรา ในอากาศมี ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจน มีคุณสมบัติที่ ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถ ส่องสว่าง ต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง จนเมื่อออกซิเจน ถูกเผาไหม้หมด เทียนไข ก็จะดับลงทันที
       ครั้งที่สองจุดเทียนแล้วเทน้ำรอบๆเทียน หลังจากนั้นนำแก้วไปครอบ แล้วสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ปรากฏว่า เทียนก็จะค่อยๆดับ แล้วน้ำก็จะเข้าไปในแก้ว เพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ) จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่า




Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อเด็กจะได้ทดลองทำด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน






วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม 2558

Lesson 10



Knowledge : 

นำเสนอ วิจัย

นางสาวปรางชมพู บุญชม  เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ(The science of early childhood development skills .The learning activity consists of a series of exercises .)

 วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้
 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์

นางสาวชนากานต์ แสนสุข รื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสาตร์ (The development of teaching and learning processes of preschool teachers using science Sre )

  1. ครูเล่านิทาน เล่นริมน้ำและให้เด็กผลัดกันออกมาเล่าประสบการณ์เดิม
  2. ครูแบ่งกลุ่มเด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพุ เปิดขวดแชมพูใส่น้ำให้เต็ม โดยการตั้งคำถาม เช่น ลักษณะของขวดเป็นอย่างไร  จากนั้นให้เด็กเรียงแถว แล้วบีบขวดจนน้ำในขวดหมด โดยสามารถเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากการบีบขวดโดยการตั้งเกณฑ์ ว่าใครบีบได้ไกลและใกล้ 

ระดมความคิดในการทำ  Cooking ภายในกลุ่ม

ซึ่งกลุ่มของดิฉัน เลือกทำ ทาโกยากิ (Takoyaki)





ส่วนผสม 

1. แป้งทาโกะ 1 ถุง (ถ้าไม่มี ใช้แป้งสาลีเอนกประสงค์ หรือแป้งว่าว)
2. ไข่ไก่ 2 ฟอง
3. น้ำเปล่า 7 ถ้วยตวง
4. ทาโกะ (ปลาหมึกยักษ์ญี่ปุ่น) หั่นสี่เหลี่ยมเต๋า
5. ขิงดองญี่ปุ่นหั่นฝอยเล็กๆ
6. ต้นหอมซอย
7. ปลาแห้งญี่ปุ่น (สำหรับโรยหน้า)
8. ซอสหวาน สำหรับทาโกะยากิ
9. สาหร่ายผง
10. มายองเนส
11. น้ำมันพืชสำหรับเช็ดเตา

วิธีทำ

1. ค่อยๆผสมแป้ง 1 ถุงกับน้ำและไข่ไก่ จนเนื้อแป้งเนียนละเอียด
2. ตั้งเตาขนมครกจนเริ่มร้อน เช็ดเตาด้วยน้ำมันพืช (เพื่อไม่ให้ขนมครกติดเตา)
3. หยอดแป้งลงไปจนเต็ม
4. ใส่ส่วนผสมของปลาหมึก ต้นหอมซอย ขิงดอง ลงไป
5. รอจนด้านล่างสุก ใช้ไม้จิ้มพลิกกลับด้านรอจนสุกอีกแล้วกลับด้าน ได้ขนมครกลูกกลมๆกลิ้งไปมาจนสุกทั่ว

6. ตักใส่จานราดด้วยมายองเนส และซอสทาโกะยากิ โรยหน้าด้วยปลาแห้งและสาหร่ายผง



Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อเด็กจะได้ทดลองทำด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน









วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2558

Lesson 9



Knowledge : 



  • นำเสนอ บทความ

    1.นางสาวสุทธิการต์ กางพาพันธ์  เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?
 (The world we live it?)


   กิจกรรมนี้ทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ สำหรับกิจกรรมที่จัดที่จังหวัดสงขลานี้ มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย
      กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
     กิจกรรม “ความลับของดิน” เด็กๆ ช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพังสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย
   กิจกรรม “ถึงร้อนก็อร่อยได้” ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและแสงสว่างของโลก พื้นผิวโลกที่มีลักษณะแตกต่างกันจะดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้ได้ต่างกัน ซึ่งจะพบจากการสัมผัสแผ่นกระเบื้องสีดำและสีขาว ที่วางไว้กลางแจ้ง เมื่อเด็ก ๆ ขึ้นไปเหยียบบนแผ่นกระเบื้องสีดำ จะรู้สึกร้อนกว่าเพราะสีดำดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้มากกว่า จึงถ่ายโอนความร้อนมายังเท้าของเรามากกว่า


 2.นางสาวศุทธินี โนนริบูรณ์  เรื่อง “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง”

จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ มีผู้ปกครองจากหลายสาขาอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมเป็น
“พ่อครู แม่ครู” ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิด
เห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญ
คือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน

 3. นางสาวเจนจิรา เทียมนิล  เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก (Teaching Children about Magnetic Force)
 การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวัตถุ ที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก
   จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทด ลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐม วัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐม วัย ประกอบกับคนเราได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย


  • นำเสนอของเล่นของเพื่อนอีกเซ็ค


โดยอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่เราได้ว่ามีกลไกอย่างไร สอนในเรื่องของอะไร

 ซึ่งจะมีทั้งเรื่อง ลม เสียง แรงโน้มถ่วง ความดัน แสง เป็นต้น



  • นำเสนอ งานกลุ่มที่ได้เขียนมายเเมบเอาไว้


ของเล่นที่นำเสนอคือการทำจรวด จากกระดาษ

ของเล่นตามมุม เป็นการทำแผนที่เเละใช้เเม่เหล็กในการทำ

การทดลอง เป็นการทดลองจรวด โดยมีแบ็ดกิ้งโซดาเป็นตัวหลักเเละกล่องใส่ฟิล์มกล้อง





Skill:

  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การฝึกค้นคว้าออกแบบของเล่นด้วยตนเอง


Apply:

  • นำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำของเล่นชิ้นนี้ไปไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ได้เพื่อเด็กจะได้เล่นและทดลองด้วยตนเองพร้อมกับเพื่อนๆ

Teaching  Techniques:

  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน










บันทึกการเรียนประจำวันอังคารที่ 6 ตุลาคม 2558

Lesson 8



Knowledge : 


นำเสนอ โทรทัศน์ครู 

นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น   เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตรืสำหรับเด็ก   (Medicine or science activities for children )
โดย : ครูพงศกร  ไสยเพชร

           กระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง

ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ

           โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง เมื่อคลายมือความดันในขวดจะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลงปริมาตรอากาศก็จะเพิ่มขึ้น เเรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศหลอดจึงลอยตัวขึ้น

ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ
โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
       
            โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น

ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์

             ทดลองโดยการใช้ดินสอเเทงถุงน้ำพลาสติกค่อย ๆ เเทงดินสอเข้าไป เมื่อทะลุเข้าไปเเล้ว เนื้อพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้

ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ

             โดยครูใช้คำถามชวนให้เด็กคิดว่าเราจะสามารถยกสมุดรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเด็ก ๆ คิดให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะเเล้วสาธิตให้เด็กดูโดยใช้สมุดวางทับเเล้วเป่าลมเข้าไปในถุงพลาสติก เมื่อลมเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะค่อย ๆ ลอยตัวขึ้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลองทำด้วยตนเอง

นางสาววัชรี วงศ์สะอาด รื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว  

(Preschool Science from the environment around them ) 
                                                                จากข่าว  Family News Today

ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบ
โรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน


นางสาวภัทรวรรณ หนูแก้ว เรื่อง นารีวุฒิ  บ้านวิทยาศาสตร์น้อย

  บ้านวิทยาศาสตร์น้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาาสตร์ให้กับนักเรียนอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตเเละคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลโดยมีชั่วโมงการเรียนที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์สอดเเทรกอยู่ในทุกๆวัน ในการทดลองนั้นจะมีอุปกรณ์ในการทดลองที่หาได้ง่ายไม่ซับซ้อนที่เด็กสามารถทดลองทำลงมือปฎิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยตนเองได้ โดยในทุกกิจกรรมจะมีคุณครูเป็นผู้ค่อยเสริมประสบการณ์ค่อยถามเด็กอยูู่เป็นระยะเพื่อให้เด็กได้คิด
วิเคาระห์เเละสังเกต เปรียบเทียบที่จะตอบคำถามครูให้ได้กิจกรรมในการทดลองมีหลายกิจกรรม เช่น ตัวทำละลาย, ลอยนํ้าได้อย่างไร

หลอดดำนํ้า, จมหรือลอย, การกรองนํ้า, ฟองมหัศจรรย์, ไหลเเรงไหลค่อย เป็นต้น


ทำกิจกรรมกลุ่ม  จัดทำหัวข้อที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเเบ่งตามหน่วยทั้ง 4 หน่วย

หน่วยที่ 1 ตัวเด็ก

หน่วยที่ 2 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

หน่วยที่ 3 บุคคลเเละสานที่

หน่วยที่ 4 ธรรมชาติรอบตัว

กลุ่มของดิฉันได้หน่วย ธรรมชาติ  เรื่อง ยานพาหนะ






Skill:
  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน

Apply:

  • สามารถนำมายเเมบที่เราได้จัดทำไปสู่การเขียนแผนได้ในครั้งต่อไป  นำเอาสิ่งที่ได้จากการฟังโทรทัศน์ครูจากที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้

Teaching  Techniques:


  • การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation:

  • Teacher   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
  • Friends  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  • Self        เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน